เกร็ดน่ารู้ 3 รูปแบบ ปั้มหัวฉีดน้ำมันเครื่องยนต์ดีเซล ตอน 1

160309_108_เกร็ดน่ารู้ 3 รูปแบบ ปั้มหัวฉีดน้ำมันเครื่องยนต์ดีเซล ตอน 1_pic1

ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง มีหน้าที่ควบคุมการฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงผ่านหัวฉีดเข้าสู่กระบอกสูบของแต่ละสูบของเครื่องยนต์ ตามจังหวะการทำงานของเครื่องยนต์ เปรียบเสมือนได้กับจังหวะการทำงานของจานจ่านกับการเกิดประกายไฟที่หัวเทียนของเครื่องยนต์เบนซิน ชนิดของปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล มีทั้งแบบควบคุมด้วยกลไก และควบคุมด้วยอีเล็คทรอนิคส์

โดยทั่วไปนิยมใช้กันคือ

1.ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง ควบคุมด้วยกลไก แบบแถวเรียง หรือ PE (in-line pump)

2.ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง ควบคุมด้วยกลไก แบบจานจ่าย หรือ VE (distributor pump)

3.ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง ควบคุมการทำงานด้วยอีเล็คทรอนิคส์ แบบคอมม่อนเรล (common rail pump)

  1. ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบแถวเรียง (in-line pump)

ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบแถวเรียง (In-line Pump) เป็นปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกออกแบบให้มีจำนวนลูกปั๊มเท่ากับจำนวนสูบของเครื่องยนต์เพื่อจ่ายน้ำมันให้กับแต่ละกระบอกสูบ ใช้ในเครื่องยนต์ตั้งแต่ 1 สูบจนถึงเครื่องยนต์ขนาด 12 สูบ ปั๊มแบบนี้มักพบในเครื่องยนต์ดีเซลในบ้านเรา ทำงานโดยการขับเคลื่อนด้วยเฟืองกับเพลาราวลิ้น ประกอบด้วย

151218_dyno_line_v2
151126_dyno_banner_v3

ปั๊มดูดน้ำมัน (Feed pump)

กัฟเวอร์เนอร์ (Governor) ทำหน้าที่ควบคุมการจ่ายน้ำมันให้เหมาะสมกับภาระของเครื่องยนต์ในขณะนั้น โดยการปรับปริมารณการฉีดของน้ำมันเชื้อเพลิงตามภาระของเครื่องยนต์เพื่อควบคุมความเร็วรถยนต์

ควบคุมการจ่ายน้ำมันให้รอบเครื่องยนต์เดินเบาและรอบสูงสุดให้คงที่ ควบคุมความเร็วตามภาระของเครื่องยนต์ เพื่อไม่ให้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ปั้มหัวฉีด ฉีดเข้าสู่ห้องเผาไหม้มากเกินไปขณะที่เร่งเครื่องอย่างทันทีทันใดโดยการจำกัดปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้เครื่องยนต์เผาไหม้ได้อย่างหมดจดและไม่มีปัญหาเรื่องควันดำควบคุมขณะสตาร์ทเครื่องยนต์ให้ติดง่าย ป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์ดับในขณะรอบเดินเบา จากการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงน้อยเกินไป

อัตราส่วนผสมระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซลอยู่ในช่วงประมาณ 10:1 ถึง 20:1 (ภายใต้ภาระเต็มที่) กัฟเวอร์เนอร์จะควบคุมอัตราส่วนผสมนี้ให้อยู่ในช่วงนี้ ในกรณีที่อัตราส่วนผสมมากกว่า 20:1 จะทำให้เกิดควันมากในไอเสีย

ไทเมอร์อัตโนมัติ(Automatic Timer) เป็นกลไกเร่งการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับความเร็วรอบเครื่องยนต์ที่สูงขึ้น เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของเครื่องยนต์ซึ่งทำงานด้วยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางที่ขับโดยเพลาลูกเบี้ยวของปั๊ม

ปั๊มดูดน้ำมัน(Feed Pump) ทำหน้าที่ดูดน้ำมันเชื้อเพลิงจากถังน้ำมันผ่านกรองน้ำมันเชื้อเพลิงถูกขับโดยเพลาลูกเบี้ยว

ตัวปั๊ม (Pump Body) เป็นที่ติดตั้งของกลไกสร้างแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงและกลไกควบคุมปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกขับโดยเพลาลูกเบี้ยวและส่งไปให้กับกระบอกสูบของแต่ละสูบ

นี่ก็ถือเป็นเกร็ดความรู้ๆเล็กๆน้อยๆสำหรับขาซิ่ง หากอยากมีรถเร็ว รถแรง ก็ต้องศึกษาข้อมูลต่างๆให้ละเอียดรอบคอบ เพราะทุกส่วนประกอบของรถยนต์มีความสำคัญไม่แพ้กัน และทุกอย่างก็ต้องตั้งอยู่บนความปลอดภัยด้วยนะครับ

รู้อย่างนี้แล้วต้องลองมาพิสูจน์กันหน่อย พวกเราทีมงานผู้เชี่ยวชาญ DynoArtPower ยินดีให้คำแนะนำเสมอ แล้วพบกันครับ
151126_dyno_button_web
151126_dyno_button_vdo