Screen Shot 2558-10-20 at 10.44.18 AM
151216_dyno_product_01

Ford Everest

สำหรับ Ford Everest รุ่นใหม่คันนี้ เป็นรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อสไตล์ SUV มีขั้นตอนและระบบการทำงานต่างๆที่ต้องใช้ความระมัดระวังพอสมควร ทั้งระบบกันขโมยที่ค่อนข้างซับซ้อนจากสมาร์ทคีย์ที่อยู่ในกระเป๋า ทำให้เมื่อกุญแจเข้าใกล้ ระบบคอมพิวเตอร์จะรับเซ็นเซอร์และส่งสัญญาณทันที ทางทีมงาน DynoArtPower จึงต้องลำดับขั้นตอนวิธีการทำอย่างรอบคอบ แม้ใช้ประสบการณ์การจูนตามสเต็ป แต่สายกราวด์เส้นหนึ่งก็ยังส่งเสียงร้องเตือนอยู่ตลอดเวลา ระบบกันขโมยจึงสำคัญมากสำหรับรถรุ่นนี้ อย่างไรก็ตามไม่มีอะไรเกินความสามารถของทีมงาน ด้วยความที่มีโครงสร้างเครื่องยนต์สไตล์ฝรั่ง ไม่ใช่หัวฉีดทั่วไปๆที่รถปิ๊กอัพค่ายญี่ปุ่นใช้อยู่ อีกทั้งสัญญาณที่แตกต่างกัน จึงใช้เวลา 2-3 ชั่วโมงในการจูนรถยนต์คันนี้จนสำเร็จ และได้รับการจูนบน Loading Dyno ทำให้ได้แรงม้าเพิ่มขึ้น 50 แรงม้า

151218_dyno_line_v2
151216_dyno_product_06

Ford Ranger

โดยปกติรถกะบะเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรลส่วนใหญ่จะเป็นของค่ายญี่ปุ่น แต่ Ford Ranger คือความยากในการทำครั้งนี้ ที่เป็นรถของค่ายยุโรป ซึ่งสิ่งที่ทำได้ในแถบบ้านเราคือ การจูนดันรางฝั่งคอมมอนเรลเพียงอย่างเดียว จึงทำให้มีความละเอียดต่ำ ได้แรงม้าที่ไม่มากเท่าไหร่ แต่ทางทีมงานผู้เชี่ยวชาญ Dynoartpower สามารถทำได้ และถือเป็นเจ้าแรกที่ได้ทำชุด Plug and Play การจูนดันรางพร้อมยกหัวฉีดได้อีกด้วย ซึ่งแยกเป็น Driver คุมหัวฉีดทุกหัวฉีด เป็น Driver พิเศษเฉพาะรถยุโรปเท่านั้น จากการที่ Ford Ranger เครื่อง 2,200 cc 4 สูบ ได้รับการจูนบน Loading Dyno ทำให้ได้แรงม้าเพิ่มขึ้น 28 แรงม้า และส่วน Ford Ranger เครื่อง 3200 cc หลังจากที่ได้รับการจูนบน Loading Dyno จะได้แรงม้าเพิ่มขึ้น 40 แรงม้า นั่นเอง

151218_dyno_line_v2
151216_dyno_product_04

Toyota Commuter

รถตู้ Toyota Commuter ส่วนใหญ่ที่วิ่งบนท้องถนนเป็นเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล 2,500 cc แต่รถตู้คันนี้เป็นตัวใหม่ที่มีเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล 3,000 cc ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ตัวเดียวกับ Toyota Fortuner Generation ใหม่ ก่อนที่จะมาเป็น Toyota Revo ความยากของรถคันนี้คือ จากที่คิดว่าปลั๊กกล่อง ECU จะเหมือนกับรถ Toyota Fortuner / Vigo แต่กลับเป็นเหมือน Lexus และ Toyota Alphard ซึ่งเป็นเรื่องน่าแปลก แต่ด้วยความสามารถของทีมงาน Dynoartpower ก็สามารถทำการติดตั้งกล่อง Unichip ดันรางและยกหัวฉีด จูนบน Loading Dyno จนในที่สุดได้แรงม้าเพิ่มขึ้น 50 แรงม้า

151218_dyno_line_v2
151216_dyno_product_03

Toyota Fortuner

Toyota Fortuner ถือเป็นหนึ่งในรถที่ทางทีมงานผู้เชี่ยวชาญ Dynoartpower มีประสบการณ์การจูนเยอะที่สุด ฉะนั้นจึงมีไฟล์สำเร็จอยู่จำนวนมาก ถูกทดสอบนับ 10,000 กิโลเมตร เครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล 3000 cc ได้รับการจูนดันรางและยกหัวฉีด บน Loading Dyno ถึงแม้ Toyota Fortuner และ Toyota Vigo เป็นเครื่องยนต์แบบเดียวกัน แต่มีการจูนที่ต่างกัน เพราะ Toyota Fortuner เป็นรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ แบบ Fulltime ผลลัพธ์ครั้งนี้คือได้แรงม้าเพิ่มขึ้น 50 แรงม้า พร้อมไฟล์สำเร็จที่เหมาะสม และตรงรุ่นกับรถขับเคลื่อน 4 ล้อ แบบ Fulltime นั่นเอง

151218_dyno_line_v2
151216_dyno_product_02

Toyota Hilux Revo

Toyota Hilux Revo รถกะบะ Generation ใหม่ เรื่องของ Connector ปลั๊กกล่องหรือชุดสายไฟต่างๆ จะเป็นรุ่นใหม่มาก ที่ไม่เคยพบในรถยนต์ Toyota รุ่นไหนมาก่อน ซึ่งทำให้ทีมงานของ Dynoartpower ถึงกับชะงัก สาเหตุเพราะด้วยระบบที่ทันสมัย ความที่เป็นปลั๊กรุ่นใหม่ ไม่มี Diagram บ่งบอกสัญญาณต่างๆ จึงทำให้ทีมงานต้องนำเครื่อง Oscilloscope มาวัดกระแสไฟในแต่ละ PIN ว่าสัญญาณที่ส่งออกมาจากกล่องแต่ละจุดคืออะไร เพื่อให้รู้ว่าการจูนควรส่งสัญญาณไปที่ PIN ไหน ถ้าหากเป็นรถรุ่นก่อนๆที่ผ่านมา จะมี Diagram ที่เป็นตัวบ่งบอกว่า ควรส่งสัญญาณไปที่จุดไหน และนี่คือความยากของการจูนรถคันนี้ ต้องใช้เวลาพอสมควร เพราะไม่มีปลั๊กสำเร็จรูป จึงต้องใช้วิธีการตัดต่อสายไฟ ทำการจูนใส่กล่อง Piggyback บน Loading Dyno จนได้ไฟล์สำเร็จ และซึ่งตอนนี้ทาง Dynoartpower ได้ส่ง Diagram ของปลั๊กกล่อง ให้แก่ผู้ผลิต Unichip เพื่อสั่งทำปลั๊กสำเร็จ โดยทีมงาน Dynoartpower ได้ทำการจูน ดันรางและยกหัวฉีด Toyota Hilux Revo บน Loading Dyno ทำให้แรงม้าเพิ่มขึ้น 50 แรงม้า ปราศจากควันดำ และประหยัดน้ำมันขึ้นอีกด้วย

151218_dyno_line_v2
151216_dyno_product_05

Benz C200 Compressor

เป็นเครื่องยนต์เบนซิน มีระบบอัดอากาศแบบ Compressor   ความยากของการจูนรถคันนี้ คือ มีระบบไอเสีย ที่ชื่อว่า Closed Loop ซึ่งจะทำให้ค่าออกซิเจน (O2) ที่ออกมาจากท่อไอเสียผิดเพี้ยนไปจากความจริง เพราะการจูนรถเครื่องยนต์เบนซินจะต้องอาศัยค่าออกซิเจน (O2) เพื่อดูส่วนผสมของน้ำมันกับอากาศที่เหมาะสม หากใช้การจูนแบบเก่าโดย Inertia Dyno ตัว Closed Loop นี้ จะทำให้ใส่ค่ายากเพราะค่าออกซิเจน (O2) ที่ออกมาจากท่อไอเสีย จะไม่ตรงกับความจริง แต่ข้อดีของ Loading Dyno สามารถล็อกรอบเครื่องยนต์ และสามารถดูแรงม้าได้แบบ Real time โดยไม่ต้องรอค่าออกซิเจน (O2) จากท่อไอเสียผิดเพี้ยน ที่เกิดจาก Closed Loop ดังนั้น Loading Dyno ของทางทีมงาน DynoArtPower จึงตอบโจทย์ตรงนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

151218_dyno_line_v2
151124_Dyno_product_01
Dyno_product03
Dyno_product04
Dyno_product05
Dyno_product06
Dyno_product01
151126_dyno_button_v3
151126_dyno_button_v4