ว่าด้วยเรื่องของ การขับเคลื่อนล้อหน้า ล้อหลัง 4ล้อ ตอน 2

Jeep_TJ_in_the_snow

ขับเคลื่อนล้อหลัง – RWD (Rear-wheel-drive)

          ส่วนใหญ่รถยนต์ที่ขับเคลื่อนล้อหลังจะมีการวางเครื่องยนต์ตามแนวแกนของตัว จึงสามารถวางจำนวนกระบอกสูบ และ เครื่องยนต์ที่มีความจุมากๆ ได้ เครื่องยนต์ส่วนใหญ่ที่ใช้สำหรับรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้าจึงมีเครื่องขนาดเล็ก-ขนาดกลางและมีกำลังน้อยกว่า เราสามารถสรุปข้อดี-ข้อเสียของระบบขับเคลื่อนล้อหลังได้ดังนี้

(+) การกระจายน้ำหนักของตัวรถ

          รถยนต์ที่ขับเคลื่อนล้อหลังนั้นมีการกระจายน้ำหนักที่ใกล้อัตราส่วน 50:50 เพราะว่ามีน้ำหนักของเฟืองท้ายและเพลาขับที่ถ่ายน้ำหนักลงบนล้อคู่หลัง จึงช่วยถ่วงน้ำหนักที่ถูกติดตั้งไว้ด้านหน้าของตัวรถ

151218_dyno_line_v2
151126_dyno_banner_v3

(+) การถ่ายน้ำหนักของตัวรถขณะออกตัว

          ถือว่าเป็นข้อได้เปรียบที่ชัดเจนของรถ ในขณะที่เร่งออกตัวจากจุดจอดที่ส่งผลให้แรงยึดเกาะของล้อหลังมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

(+) สมรรถนะในการควบคุม

          สำหรับรถขับเคลื่อนล้อหลังแล้ว ล้อหน้าเป็นเพียงแค่ล้อบังคับการเคลื่อนที่ จะไม่ได้ถูกต่ออยู่กับระบบส่งกำลังโดยตรง ทำให้การตอบสนองเวลาเข้าโค้งเป็นธรรมชาติมากกว่า

(-) “โอเวอร์-สเตียร์” คือ ศัตรูของรถขับหลัง

          อาการ “ท้ายปัด” ถือเป็นศัตรูตัวร้ายของรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับรถยนต์ที่มีแรงม้าสูงๆ อาการท้ายปัด ถือเป็นอาการที่แก้ยากกว่าอาการหน้าดื้อ

(-) ประสิทธิภาพในการส่งกำลังน้อยกว่า

          ระบบขับเคลื่อนล้อหลังมีประสิทธิภาพในเรื่องการส่งกำลังน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับระบบขับเคลื่อนล้อหน้า ด้วยเหตุผลนี้ จึงทำให้ระบบขับหลังมีกำลังแรงม้าถ่ายทอดจากเครื่องยนต์ไปยังล้อหลัง

ขับเคลื่อนสี่ล้อ – 4WD (Four-wheel-drive)

          โดยปกติแล้วรถยนต์ที่ขับเคลื่อน4ล้อจะมีเครื่องยนต์อยู่ที่ตำแหน่งด้านหน้า ทำให้มีการกระจายน้ำหนักที่อัตรา 50:50 สำหรับข้อเด่น-ข้อด้อยของระบบขับเคลื่อนประเภทนี้จะมีอะไรบ้าง สรุปไว้ด้านล่างแล้ว

(+) “แรงยึดเกาะ” ระดับพระเจ้า

          ข้อได้เปรียบที่โดดเด่นที่สุดก็คือ “แรงยึดเกาะ” ทำให้สามารถถ่ายทอดแรงม้ามาลงไปที่ล้อทั้งสี่ได้แบบไม่มีขาดไม่มีเกิน เป็นผลให้มีอัตราเร่งที่เร็วจนน่าขนลุก

(-) ระบบขับเคลื่อนมีน้ำหนักมาก

          เนื่องจากระบบขับเคลื่อนสี่ล้อต้องอาศัยเพลาเพื่อส่งกำลังไปขับเคลื่อนล้อทั้ง 4 จึงทำให้รถประเภทนี้ต้องมีกำลังเครื่องยนต์มากพอที่จะเอาชนะแรงเฉื่อยมหาศาลของระบบส่งกำลังสี่ล้อได้

(-) แรงม้าสูญเสียไปกับระบบขับเคลื่อน

          ถึงแม้ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อจะสามารถถ่ายทอดกำลังไปสู่ล้อทั้ง 4 ได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ระหว่างการส่งถ่ายกำลังนั้น แรงม้าจะสูญเสียไปกับการเอาชนะความเฉื่อยและความซับซ้อนของระบบเกือบ 20%

รู้อย่างนี้แล้วต้องลองมาพิสูจน์กันหน่อย พวกเราทีมงานผู้เชี่ยวชาญ DynoArtPower ยินดีให้คำแนะนำเสมอ แล้วพบกันครับ
151126_dyno_button_web
151126_dyno_button_vdo